คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

คุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือก

1. ผู้ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ เทีบบเท่า (สายวิทย์-คณิต หรือ
ศิลป์-คำนวณ) หรือสอบผ่านการศึกษาระดับเกรด 12 จากโรงเรียนนานาชาติ หรือเทียบเท่าจากสถาบัน
การศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ กรณีชาวต่างชาติสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย (High school) หรือเทียบเท่า สามารถสื่อสารและเขียนภาษาไทยได้
2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 4 – 5 ภาคเรียน ไม่น้อยกว่า 2.00
3. ความสามารถพิเศษ (นำเสนอ Portfolio เป็นผลงานที่ย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี)
3.1 เคยได้รับรางวัลจากผลงานด้านคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้องจากการประกวด / แข่งขัน หรือ
3.2 ใบประกาศนียบัตรหรือเกียรติบัตร คอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้อง หรือ
3.3 ประสบการณ์เด่นด้านคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์
หรือที่เกี่ยวข้อง
4. เป็นผู้ที่ปราศจากโรคและอาการของโรค หรือความพิการ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ดังต่อไปนี้
4.1 ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง
4.2 โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย
4.3 โรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เช่น โรคลมชัก โรคหัวใจระดับรุนแรงภาวะไตวายเรื้อรัง โรคติดสารเสพติดให้โทษ
4.4 ความผิดปกติในการมองเห็นภาพ เช่น ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง ไม่สามารถมองเห็นภาพ
เป็นสามมิติ ตาเขตาเหล่ ตาส่อน
4.5 มีความผิดปกติด้านการได้ยิน เช่น หูหนวก หรือ หูตึง
4.6 โรคหรือความพิการอื่น ๆ ที่คณะกรรมการและแพทย์ผู้ตรวจร่างกาย เห็นว่าจะเป็นอุปสรรค
ต่อการศึกษา
5. สอบสัมภาษณ์
* ให้ผู้สมัครนำส่งสรุปข้อมูลประวัติส่วนตัวพร้อมใบแสดงผลการเรียน จำนวน 4 – 5 ภาคเรียน (Transcript)/ ผลงาน/ ความสามารถพิเศษ (รางวัล ใบประกาศนียบัตร หรือประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่เกี่ยวข้อง) ในรูปแบบไฟล์ PDF เท่านั้น โดยไม่จำกัดจำนวนหน้า
ส่งมาที่อีเมล cybersec.sdu@gmail.com
หมายเหตุ: ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญาสามารถ
เทียบโอนหน่วยกิต หรือรายวิชาได้ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

คุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือก

1. ผู้ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทีบบเท่า (สายวิทย์-คณิต หรือ ศิลป์-คำนวณ) หรือสอบผ่านการศึกษาระดับเกรด 12 จากโรงเรียนนานาชาติ หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ กรณีชาวต่างชาติสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (High school) หรือเทียบเท่า สามารถสื่อสารและเขียนภาษาไทยได้
2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่น้อยกว่า 2.00
3. เป็นผู้ที่ปราศจากโรคและอาการของโรค หรือความพิการ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ดังต่อไปนี้
3.1 ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง
3.2 โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย
3.3 โรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เช่น
โรคลมชัก โรคหัวใจระดับรุนแรงภาวะไตวายเรื้อรัง โรคติดสาร
เสพติดให้โทษ
3.4 ความผิดปกติในการมองเห็นภาพ เช่น ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง ไม่สามารถมองเห็นภาพเป็นสามมิติ ตาเขตาเหล่ ตาส่อน
3.5 มีความผิดปกติด้านการได้ยิน เช่น หูหนวก หรือ หูตึง
3.6 โรคหรือความพิการอื่น ๆ ที่คณะกรรมการและแพทย์ผู้ตรวจร่างกาย เห็นว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
4. สอบสัมภาษณ์
หมายเหตุ: ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญาสามารถเทียบโอนหน่วยกิต หรือรายวิชาได้ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย+I82:I93

คุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือก

1. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ โดยมีจำนวนหน่วยกิตกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต หรือผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ต้องสำเร็จการศึกษาประเภทอุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ประเภทวิชาศิลปกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก หรือ ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่เกี่ยวข้อง)
2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 6 ภาคเรียน ไม่น้อยกว่า 2.00
3. สัดส่วนน้ำหนักคะแนน ดังนี้
– TGAT (90) ความถนัดทั่วไป ร้อยละ 25 (คะแนนขั้นต่ำ 20 คะแนน)
– TPAT3 (30) ความถนัดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ร้อยละ 25 (คะแนนขั้นต่ำ 20 คะแนน)
– A-Level (61) คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ร้อยละ 25 (คะแนนขั้นต่ำ 20 คะแนน)
– A-Level (82) ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 25 (คะแนนขั้นต่ำ 20 คะแนน)
4. เป็นผู้ที่ปราศจากโรคและอาการของโรค หรือความพิการ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ดังต่อไปนี้
4.1 ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง
4.2 โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย
4.3 โรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เช่น โรคลมชัก โรคหัวใจระดับรุนแรง ภาวะไตวายเรื้อรัง โรคติดสารเสพติดให้โทษ
4.4 ความผิดปกติในการมองเห็นภาพ เช่น ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง ไม่สามารถมองเห็นภาพเป็นสามมิติ ตาเขตาเหล่ ตาส่อน
4.5 มีความผิดปกติด้านการได้ยิน เช่น หูหนวก หรือ หูตึง
4.6 โรคหรือความพิการอื่น ๆ ที่คณะกรรมการและแพทย์ผู้ตรวจร่างกาย เห็นว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
หมายเหตุ: ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญาสามารถเทียบโอนหน่วยกิต หรือรายวิชาได้ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

สถานที่จัดการเรียนการสอน : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพฯ
เบอร์ติดต่อ : 022445692