คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์การแพทย์
คุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือก
1. ผู้ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ (วิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาต่างประเทศ) หรือเป็นนักเรียนต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (High School) ด้านวิทยาศาสตร์เทียบเท่า และสามารถสื่อสาร และเขียนภาษาไทยได้
2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 4 – 5 ภาคเรียน ไม่น้อยกว่า 2.75
3. ความสามารถพิเศษ (นำเสนอ Portfolio เป็นผลงานที่ย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี)
3.1 เคยได้รับรางวัลจากผลงานด้านวิทยาศาสตร์จากการประกวด / แข่งขัน หรือ
3.2 ใบประกาศนียบัตรหรือเกียรติบัตร ด้านวิทยาศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้อง หรือ
3.3 ประสบการณ์เด่นด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือที่เกี่ยวข้อง
4. คุณสมบัติเฉพาะ
4.1 มีรูปร่างสมส่วน โดยมีค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.0 – 25.5 กก./ตร.ม. และส่วนสูง ผู้ชายไม่น้อยกว่า 160 เซนติเมตร ผู้หญิงไม่น้อยกว่า 155 เซนติเมตร
4.2 เป็นผู้ที่ปราศจากโรคและอาการของโรค หรือความพิการ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ดังต่อไปนี้
1) ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง
2) โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย
3) โรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เช่น โรคลมชัก โรคหัวใจระดับรุนแรงภาวะไตวายเรื้อรัง
โรคติดสารเสพติดให้โทษ
4) ความผิดปกติในการมองเห็นภาพ เช่น ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง ไม่สามารถมองเห็นภาพเป็นสามมิติ ตาเขตาเหล่ ตาส่อน
5) มีความผิดปกติด้านการได้ยิน เช่น หูหนวก หรือ หูตึง
6) โรคหรือความพิการอื่นๆ ที่คณะกรรมการและแพทย์ผู้ตรวจร่างกาย เห็นว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
5. สอบสัมภาษณ์
* ให้ผู้สมัครนำส่งสรุปข้อมูลประวัติส่วนตัวพร้อมใบแสดงผลการเรียน จำนวน 4 – 5 ภาคเรียน (Transcript)/ ผลงาน/ ความสามารถพิเศษ (รางวัล ใบประกาศนียบัตร หรือประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์) ในรูปแบบไฟล์ PDF เท่านั้น โดยไม่จำกัดจำนวนหน้ามาที่อีเมล medsci.sdu@gmail.com
คุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือก
1. ผู้ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ โดยมีจำนวนหน่วยกิตกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 ภาคเรียน ไม่น้อยกว่า 3.00
3. เป็นผู้ที่ปราศจากโรคและอาการของโรค หรือความพิการ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ดังต่อไปนี้
1) ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง
2) โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย
3) โรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เช่น โรคลมชัก โรคหัวใจระดับรุนแรง ภาวะไตวายเรื้อรัง
โรคติดสารเสพติดให้โทษ
4) ความผิดปกติในการมองเห็นภาพ เช่น ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง ไม่สามารถมองเห็นภาพเป็นสามมิติ ตาเข ตาเหล่ ตาส่อน
5) มีความผิดปกติด้านการได้ยิน เช่น หูหนวก หรือ หูตึง
6) โรคหรือความพิการอื่นๆ ที่คณะกรรมการและแพทย์ผู้ตรวจร่างกาย เห็นว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
4. สอบสัมภาษณ์
คุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือก
1. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ โดยมีจำนวนหน่วยกิตกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
2. มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 6 ภาคเรียน ไม่น้อยกว่า 2.75
3. มีสัดส่วนน้ำหนักคะแนน ดังนี้
– TGAT (90) ความถนัดทั่วไป ร้อยละ 20 (คะแนนขั้นต่ำ 20 คะแนน)
– A-Level (61) คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ร้อยละ 15 (คะแนนขั้นต่ำ 20 คะแนน)
– A-Level (64) ฟิสิกส์ ร้อยละ 15 (คะแนนขั้นต่ำ 20 คะแนน)
– A-Level (65) เคมี ร้อยละ 20 (คะแนนขั้นต่ำ 20 คะแนน)
– A-Level (66) ชีววิทยา ร้อยละ 20 (คะแนนขั้นต่ำ 20 คะแนน)
– A-Level (82) ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 10 (คะแนนขั้นต่ำ 20 คะแนน)
4. เป็นผู้ที่ปราศจากโรคและอาการของโรค หรือความพิการ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ดังต่อไปนี้
1) ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง
2) โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย
3) โรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เช่น โรคลมชัก โรคหัวใจระดับรุนแรง ภาวะไตวายเรื้อรัง โรคติดสารเสพติดให้โทษ
4) ความผิดปกติในการมองเห็นภาพ เช่น ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง ไม่สามารถมองเห็นภาพเป็นสามมิติ ตาเขตาเหล่ ตาส่อน